จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

“บีโอไอ” มั่นใจปี 55 มีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 6 แสนล.



เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 ที่โรงแรมโบ๊ทลากูน รีสอร์ท แอนสปา อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และนโยบายการลงทุน (อุตสาหกรรมและบริการ) สำนักยุทศาสตร์และนโยบายการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือสำนักงานบีโอไอ กล่าวภายหลังการบรรยายพิเศษ ในการสัมมนา เรื่อง “บีโอไอ...มิตรแท้” ซึ่งศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6 รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภูเก็ต ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช และระนอง) เกี่ยวกับการแนวโน้มการขอส่งเสริมการลงทุน ว่า ในปี 2554 ที่ผ่านมา ได้มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเป็นวงเงินลงทุนรวมประมาณ 673,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปี 2553 ประมาณ 63% นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าการลงทุนยังคงได้รับการตอบรับทั้งจากนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศ
แม้ว่าประเทศไทยจะมีปัญหาการเมืองมาตั้งแต่ปี 2552 และในปี 2554 ยังมีปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ซึ่งมีการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสากรรมบริการ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ อุตสาหกรรมการผลิตรถยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นอกจากนี้ในกลุ่มของเอสเอ็มอียังได้มีการขอรับการสนับสนุนตามมาตรการของบีโอไอประมาณ 500 กว่าโครงการ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 20,000 กว่าล้านบาท โดยในปี 2555 ด้วยภารกิจของบีโอไอ นโยบายของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีการเร่งรัดทำงานให้มากขึ้น โดยคงไว้ที่เป้าหมายการสนับสนุนการลงทุนไม่ต่ำกว่า 600,000 ล้านบาท
นายสุทธิเกตติ์ กล่าวถึงการลงทุนของภาคใต้ตอนบนว่า ในปี 2554 มีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวมากกว่าปี 2553 โดยธุรกิจส่วนใหญ่ที่มาขอรับการลงทุนนั้นจะเป็นธุรกิจที่เป็นจุดเดินของภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ยางพารา ปาล์มน้ำมัน การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ส่วนในปี 2555 ก็ยังคงต้องทำงานหนัก โดยมีเป้าหมายในการรักษายอดการลงทุนดังกล่าวไว้ ส่วนนโยบายก็ยังคงเน้นส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจดังกล่าวเช่นเดิม
อย่างไรก็ตามนายสุทธิเกตต์ กล่าวด้วยว่า จากที่ได้มีการจัดสัมมนาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน เช่น กระบี่ ภูเก็ต เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เชื่อว่ายังคงมีการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง และสดใส ซึ่งยังเป็นธุรกิจที่เน้นจุดเด่นของภาคใต้ตอนบน ส่วนการลงทุนในภาคการท่องเที่ยวและบริการก็ยังคงมีการยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนพอสมควร โดยเฉพาะกิจการโรงแรมที่ภูเก็ต นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมีนักลงทุนชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุน เช่น เกาหลี ยุโรป สแกนดิเนเวีย เป็นต้น
ส่วนของปัจจัยเสี่ยงนั้นนายสุทธิเกตติ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมีปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และนักลงทุนต่างชาติจะให้ความสนใจและสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก นั่นคือ การป้องกันปัญหาอุทกภัย ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐบาล กระทรวงอุตสาหกรรม และบีโอไอ ได้จัดทำแผนรองรับวิกฤตอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งได้มีการจัดทำแผนป้องกันที่ชัดเจน ในขณะที่ตัวนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ได้มีการทำแนวป้องกันของตัวเอง ส่วนบีโอไอนั้นก็มีนโยบายในการเพิ่มความมั่นให้กับนักลงทุน กรณีที่อาจจะเกิดปัญหาขึ้นก็จะไม่ทิ้งนักลงทุน ส่วนเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองคิดว่าเริ่มมีความมั่นคง และรัฐบาลก็ให้ความสนใจกับการส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น ดังนั้นคิดว่าหากเกิดปัญหาขึ้นก็น่าจะฝ่าฟันไปได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น