จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เตรียมตรวจสอบเอกสารสิทธิในอุทยานฯ กว่า 370 แปลง



เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 นายชีวะภาพ ชีวะธรรม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เปิดเผยผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการทำงาตรวจสอบเอกสารสิทธิ และปราบปรามการบุกรุกยึดถือที่ดินอุทยานแห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ในการแถลงข่าวโครงการผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพบสื่อมวลชน ครั้งที่ 1/2555 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ว่า ผลจากการตรวจสอบที่ดินรายใหญ่ซึ่งมีการก่อสร้างโรงแรมที่พักและรีสอร์ทหรูเบื้องต้นจำนวน 11 แปลง
ตามคำสั่งของนายดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ประกอบด้วย โรงแรมภูเก็ตอาเคเดียในทอนบีช รีสอร์ท, โรงแรมภูเก็ตเพนนิซูล่าสปาแอนด์รีสอร์ท, บริษัท ลาคอรีน จำกัด, บริษัท แลนด์สเตรท จำกัด,บริษัท ทรีดอลฟินซ์ จำกัด, บริษัท สุรีย์สัมฤทธิ์ จำกัด และมาลัยวนา, ที่ดินครอบครองโดยบุคคลธรรมดา 1 ราย (นางสุชาดา สังข์สุวรรณ), บริษัท พาวิลเลี่ยน บีช รีสอร์ท จำกัด, บริษัท อันดามันไวท์บีช จำกัด, บริษัท ลายันภูเก็ต จำกัด และบริษัท เซ็นทรัล แอนด์ ซิตี้ ดีวีลอปเม้นท์ ซึ่งการตรวจสอบการได้มาของเอกสารสิทธิที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการออกเอกสารสิทธิ พร้อมทั้งได้มีการเสนอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิกรณีที่มีการออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

“การตรวจสอบที่ดินทั้ง 11 แปลง ปรากฏว่าไม่ได้ผิดทั้งหมด เช่นกรณีบริษัท พาวิลเลี่ยน บีช รีสอร์ท จำกัด มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานฯ เมื่อตีความภาพถ่ายแล้วสอดคล้องกับ สค.1 แต่มีพื้นที่ส่วนหนึ่งไม่ได้อยู่ในเขตอุทยานฯ ต้องส่งให้กรมป่าไม้ตรวจสอบต่อไป ส่วนที่เหลือทางคณะทำงานฯ ได้สรุปข้อมูลแล้วว่า มีการออกโดยคลาดเคลื่อน และในฐานะของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ตาม พ.ร.บ.อุทยานฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีไปแล้ว ในฐานะผู้เสียหาย นอกจากนี้ยังทำสำนวนส่งให้กับส่วนกลางเพื่อดำเนินการส่งกลับมาฟ้องเพ่งที่ภูเก็ตโดยอัยการจังหวัด ส่งให้กับ ป.ป.ช. เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งให้กับดีเอสไอ และส่งให้กับกรมที่ดินเพื่อเสนอเพิกถอน โดยดำเนินการควบคู่กันไปทุกช่องทาง”

นายชีวะภาพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนที่ตรวจสอบอีก 3 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ มาลัยวนา อีสทาน่าและบ้านฝรั่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลการแปลภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งเป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากในการทำสำนวนฟ้องร้องดังกล่าว เพราะจะสามารถมองย้อนหลังได้ถึงปี 2494 และ 2497 เนื่องจากในการแจ้งครอบครอง ส.ค.1 จะมีการระบุชัดเจนว่าครอบครองมาตั้งแต่เมื่อใดและทำประโยชน์อะไรและเต็มพื้นที่หรือไม่ ส่วนกรณีการเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ลงมาตรวจสอบพื้นที่เป้าหมายเพิ่มเติมจำนวน 366 ชุด

เนื่องจากมีฐานข้อมูลที่ได้จะมาจากความร่วมมือระหว่างดีเอสไอกับอาจารย์จากคณะวนศาสตร์ฯ ซึ่งพบว่ามีแปลงที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิประมาณ 370 กว่าแปลง เนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับข้อมูลให้นิ่ง และทำคู่ขนานไปกับการให้ความรู้ และฝึกอบรมให้กับทีมที่จะลงมาทำงานในพื้นที่ เพราะการดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ละเอียด ซึ่งจะทยอยเข้ามาปฏิบัติงานห้วงเวลาละ 60-70 ทีม และในส่วนของอุทยานฯ เองก็อยู่ระหว่างการเตรียมงานให้เป็นระบบตั้งแต่ขั้นตอนการขอข้อมูล และการเข้าถึงพื้นที่

“กรอบเวลาการทำงานของ 366 ชุด เบื้องต้นในการเตรียมความพร้อมทีมอาจจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนหรือเสร็จประมาณกลางเดือนตุลาคมนี้ จะสามารถลงพื้นที่ได้ประมาณปลายเดือนดังกล่าว ในการเก็บข้อมูลน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ขณะเดียวกันก็ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลภาพถ่ายทางอากาศควบคู่กันไป ซึ่งจะเป็นทีมที่ค่อนข้างใหญ่มาก โดยที่ผ่านมาสำหรับการตรวจสอบชุดแรกผู้เชี่ยวชาญแปลภาพถ่ายมีน้อยมาก จึงต้องมีการขยายทีมแปลภาพถ่าย และเพิ่มในส่วนของนิติกร ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมและเสนอเรื่องไปยังผู้บังคับบัญชา หากสองส่วนสมดุลกัน คาดว่าจะสรุปผลได้ก่อนสิ้นปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวันเริ่มงานในพื้นที่ด้วย”

อย่างไรก็ตามนายชีวะภาพ กล่าวด้วยว่า สำหรับพื้นที่ 370 กว่าแปลงนั้นเห็นชัดว่าอยู่ในเขตอุทยานฯ เพียงแต่จะต้องสืบค้นและวิเคราะห์ว่าเอกสารสิทธิที่ได้มานั้นออกโดยคาดเคลื่อนหรือออกโดยมิชอบหรือไม่ ภาพรวมจะเป็นแปลงที่มีขนาดพื้นที่ไม่มากนัก เฉลี่ยประมาณ 10-20 ไร่ ที่มีขนาด 70-80 ไร่มีค่อนข้างน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น