จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ศึกษากลยุทธ์ขับเคลื่อนคลัสเตอร์




เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2555 ที่ห้องจามจุรี 2 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสรธรรม จินดา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ธุรกิจบริการการท่องเที่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เพื่ออนาคตที่สดใสของภูเก็ตของเรา” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้แผนการวิจัย “กลยุทธ์ขับเคลื่อนคลัสเตอร์การท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม 


เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน : กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต” ดำเนินการโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และองค์กรภาคี ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีผู้บริหาร/เจ้าของธุรกิจบริการการท่องเที่ยวที่ให้บริการนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ตัวแทนจากสมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการจังหวัดภูเก็ต การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภูเก็ต หอการค้าจังหวัดภูเก็ต และองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม โอกาสนี้ยังได้มีการเสวนาเรื่อง “ภาคธุรกิจบริการ.. หัวใจหลักของการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยั่งยืนด้วย” 


ดร.รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการแผนการวิจัย กล่าวว่า ด้วยศูนย์ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และคณะบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้ดำเนินการวิจัยภายใต้แผนการวิจัย “กลยุทธ์ขับเคลื่อนคลัสเตอร์การท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน : กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต” เพื่อเสริมสร้างความตระหนักต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ต เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อบทบาทของธุรกิจบริการการท่องเที่ยวในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน


“การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทของธุรกิจบริการการท่องเที่ยวได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก และธุรกิจเพื่อความผ่อนคลายและความบันเทิง ในการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้ธุรกิจบริการการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยที่สำคัญยิ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีความพร้อมและมีความสามารถในการร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งจะได้เรียนรู้จากวิทยากรและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้เป็นอย่างดีด้วย” 


ดร.รักษ์พงศ์ กล่าวด้วยว่า ในการแข่งขันกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในระดับสากล ภูเก็ตต้องเผชิญกับแรงกดดันจากแหล่งท่องเที่ยวใหม่อื่นๆ ที่มีความสวยงามทางธรรมชาติที่มากกว่า แหล่งบันเทิงที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดีกว่าหรือมีราคาต่ำกว่า เมื่อเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของแหล่งท่องเที่ยวในเชิงความงดงามทางธรรมชาติและความน่าสนใจของประเพณีวัฒนธรรมระหว่างภูเก็ตกับแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศทางทะเลอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จะเห็นได้ว่าภูเก็ตมีศักยภาพที่ด้อยกว่าทั้งสองด้าน


ดังนั้นภายใต้ภาวะกดดันทางด้านการแข่งขันที่ต้องปรับตัวให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับภูเก็ตมีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นสัญญาณสะท้อนถึงความไม่ยั่งยืนของขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลายประการ เช่น ระดับค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ภาพลักษณ์ที่ลดลง ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ความไม่เพียงพอของสาธารณูปโภคและคุณภาพทรัพยากรบุคคล การขาดวิสัยทัศน์ร่วมกันต่อกลยุทธ์การพัฒนาและสร้างคุณค่าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น