จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 เตรียมความพร้อม AEC



เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 ที่ห้องประชุมจามจุรี โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง ภูเก็ต นายสไลเกษ วัฒนพันธ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นประธานในงานสัมมนา การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งทางศาลอุทธรณ์ภาค 8 ร่วมกับสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ โดยการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประจำประเทศไทย 


และด้วยความร่วมมือของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าจังหวัดภูเก็ต และสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้น โดยมีผู้พิพากษาในภาค 8 และภาค 9 ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 150 คนเข้าร่วม

ทั้งนี้นางสาววรางคณา สุจริตกุล เลขานุการศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้กล่าวว่า เนื่องจากทางศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้มีการระดมสมองเพื่อกำหนดประเด็นในการสัมมนาของศาลอุทธรณ์ ภาค 8 เพื่อเผยแพร่ความรู้ และเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เกิดความเข้าใจและเตรียมรับมือ กับการที่ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ.2558 ซึ่งอาเซียนจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น เนื่องจากประชาคมอาเซียนมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน, การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง, การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และ การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์

โดยการสัมมนาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC ข้อตกลงเกี่ยวกับ AEC ที่ประเทศไทย มีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม และทิศทางนโยบายการเงิน และช่วงที่ 2 จะเป็นการเสวนาเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบจากการไหลเข้าของเงินทุน และผลจากข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในภาคท่องเที่ยว ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ

ด้านนายสไลเกษ วัฒนพันธ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 กล่าวว่า การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหนึ่งในเสาหลักของประชาคมอาเซียนจะทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือโดยการพัฒนากฎเกณฑ์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ และมีการสร้างมาตรฐานอาเซียนการเกิดขึ้นของ AEC มีความเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคนี้ เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของไทย และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและเอกชนต้องจับมือกันเพื่อใช้ระยะเวลาอีก 2 ปีข้างหน้าในการเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทย เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในฐานะหน่วยงานสำคัญของภูมิภาค เห็นว่า เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยง มีผลได้จริงในทางปฏิบัติ เพื่อลดปัญหาการทับซ้อนและความไม่สอดคล้องของนโยบายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือ สร้างความตระหนัก และสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเข้า สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไปพร้อมกัน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้สามารถใช้โอกาสจากข้อตกลงดังกล่าวได้ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น