จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กสทช.สัญจรพบประชาชนในพื้นที่ภาคใต้



เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2556 ที่ห้องประชุมชั้น 3 โรงแรมเมอร์เคียว ป่าตอง อ.กะทู้ ภูเก็ต พันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ แห่งชาติ หรือ กสทช.และประธานคณะกรรมการโทรคมนาคม หรือ กทค. เป็นประธานการสัมมนา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม สัญจรพบประชาชน ครั้งที่ 1 ภาคใต้ 


โดยมีนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับ นอกจากนี้ยังมี นายก่อกิจ ด่าชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช.ภารกิจโทรคมนาคม พร้อมทั้งคณะ กสทช. และกทค. ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต ภูเก็ต พังงา กระบี่ เข้าร่วมกว่า 300 คน 


ทั้งนี้นายก่อกิจ ด่าชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช.ภารกิจโทรคมนาคม ได้กล่าวว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้กำหนดให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้นทางกสทช.โดยคณะกรรมการการกิจโทรคมนาคม เพื่อลงพื้นที่พบประชาชน เพื่ออธิบายถึงภารกิจของกสทช.โดยทางกทค. และรับฟังปัญหารวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆ 


จึงได้จัดให้มีโครงการสัมมนา กสทช. สัญจรพบประชาชน ในปี 2556 โดยในปี 2556 รวม 5 ครั้งนี้ ใน 5 ภูมิภาค โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดลำพูน ครั้งที่ 3 ที่จังหวัดระยอง ครั้งที่ 4 ที่จังหวัดนครราชสีมา และครั้งที่ 5 ที่จังหวัดนครปฐม การจัดสัมมนาในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของกสทช. โดย กทค. อันที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม 


นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz และบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือการโอนย้ายค่ายมือถือแต่ใช้เบอร์เดิม โดยการสัมมนาในครั้งนี้มีเข้าร่วมสัมมนาจากหลายภาคส่วนในพื้นที่ จังหวัดภาคใต้ เช่น นักวิทยุสมัครเล่น เจ้าหน้าที่ ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรผู้บริโภค นักศึกษา สื่อมวลชน และประชาชน ประมาณ 300 คน 


ด้านพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ได้กล่าวว่า คณะกรรมการ กทค.มีแผนเตรียมความพร้อมทางการสื่อสารกรณีเกิดภัยพิบัติสึนามิภาคใต้ โดยมีการเตรียมหมายเลขฉุกเฉิน โครงข่ายสำรองให้แก่ผู้มีอำนาจสั่งการและหน่วยงานภัยพิบัติไว้ใช้งานสำรองคลื่นความถี่ทั้งดาวเทียมโทรศัพท์มือถือและโครงข่ายวิทยุสื่อสารเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งมีการเตรียมระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าทาง SMS อินเตอร์เน็ต เครือข่ายวิทยุสมัครเล่น และระบบของกรมอุตุนิยมวิทยา 


เนื่องจากเมื่อเกิดภัยพิบัติโดยปกติจะมีการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์มากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมของโครงข่ายและช่องสัญญาณ ให้ติดต่อสื่อสารได้ และจัดสรรช่องสัญญาณคลื่นความถี่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น ในกรณีที่เกิดปัญหาระบบการติดต่อสื่อสารหลักขัดข้อง 


นอกจากนี้ตามประกาศของ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ที่จะเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนในการช่วยเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการเตรียมพร้อม ป้องกัน แก้ไข และบรรเทาเหตุภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลโดยตรง จะไม่ก่อให้เกิดความสับสนกับประชาชนปัจจุบันระบบเตือนภัยมีความทันสมัยมากขึ้นอนาคตหากมีทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นก็จะยิ่งทำให้ระบบการเตือนภัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น