จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ชาวไทยฮินดูบวงสรวงองค์พระพิฆเณศ

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2553 ที่ศาสนสถานตันดายูดาปานี (วัดอินเดีย) อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีบวงสรวงองค์พระพิฆเณศ เพื่อให้ชาวไทยทุกเชื้อสายได้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ความดี เกิดความสามัคคี ปรองดองในหมู่คณะ และเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการลานบุญลานปัญญา ตามแผนปฏิบัติไทยเข้มแข็งประจำปี 2553 โดยมีคนไทยเชื้อสายฮินดูทมิฬ และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ได้มีการประกอบพิธีเปิดกรวยดอกไม้ ถวายสักการะ พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พิธีบวงสรวงองค์พระประจำศาสนสถาน 3 องค์ ได้แก่ พิธีบูชาไฟ สรงน้ำองค์พระ พิธีขอพรพระพิฆเณศ ได้แก่การประโคมดนตรี เป่าปี่ตีกลองโดยชุดนาฎศิลป์อินเดีย และตัวแทนองค์พระพิฆเนศ (ช้าง) เดินเวียนโบสถ์ ส่วนในช่วงค่ำมีการประกอบพิธีถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิธีบวงสรวงองค์พระพิฆเนศ และการแสดงโชว์โดยนาฎศิลป์อินเดีย

นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย โดยกรมศาสนา ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการลานบุญ ลานปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะพลิกฟื้นวิถีธรรมในอดีตให้คืนกลับมาสู่สังคมไทย เพื่อเปิดพื้นที่ศาสนสถานให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อเสริมสร้างปัญญาให้กับคนในชุมชน ซึ่งหมายถึงลานปัญญา และให้คนในชุมชนร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนาสร้างความดี หมายถึง ลานบุญ ในโอกาสต่างๆ เป็นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งด้วยกิจกรรมเพื่อชุมชนจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนั้นๆ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมที่ประกอบด้วยปัญญาและความดี รวมทั้งการดำรงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยั่งยืนมั่นคงสืบไป

สำหรับศาสนสถานตันดายูดายูดาปานี เป็นชื่อเรียกตามองค์พระประธาน ตันดายูดาปานี ซึ่งหมายถึง องค์พระขัณฑกุมาร และเหตุอันเนื่องมาจากชาวอินเดียทมิฬที่เข้ามาติดต่อค้าขายและอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น จึงเรียกศาสนสถานแห่งนี้ว่า วัดอินเดีย โดยปัจจุบันมีคนไทยเชื้อสายฮินดูทมิฬ อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต จำนวนประมาณ 2,000 คน บรรพบุรุษมาจากแคว้นทมิฬนาดู ประเทศอินเดียและประเทศมาเลเซีย จึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า ชาวอินเดียทมิฬหรือทมิฬนาดู ซึ่งมีลักษณะผิวดำ ผู้ชายสวมโสร่งสีขาว เป็นเอกลักษณ์ ส่วนผู้หญิงสวมใส่ผ้าส่าหรี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น