จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ระดมสมองแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2553 ห้องกานดา ฮอล์ล โรงแรมกะตะบีช รีสอร์ท แอนด์สปา จ.ภูเก็ต นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา เป็นประธาน เปิดการสัมมนา เรื่อง “การพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว ผลดี ผลเสีย” ซึ่งทางคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการเรื่องแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง จัดขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูล รับฟังข้อเสนอแนะปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาวและกัมพูชา รวมทั้งวิเคราะห์ผลดี ผลเสียของการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป โดยมีนายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา คณะอนุกรรมาธิการเรื่องแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง หน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา กล่าวว่า การลักลอบเข้าประเทศของคนต่างด้าว ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง สังคม สาธารณสุขและเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลไทยได้พยายามแก้ไขปัญหามาตลอด โดยเริ่มมีการกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวมาตั้งแต่ปี 2535 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนคนต่างด้าวสัญชาติพม่าให้เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองเพื่อรอการส่งกลับ จากนั้นจึงผ่อนผันให้ทำงานในพื้นที่จังหวัดควบคุม และการพิสูจน์สัญชาติแรงงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาวและกัมพูชา ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 และวันที่ 9 ธันวาคม 2551 โดยเห็นชอบให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2548 เป้าหมายสูงสุด คือ การใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมาย นอกจากนั้นการพิสูจน์สัญชาติถือเป็นแนวทางการแก้ปัญหาคนหลบหนีเข้าเมือง เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนสถานะแรงงานต่างด้าวให้เป็นคนเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย และปัจจุบันกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ดำเนินการด้วยความร่วมมือของส่วนราชการหลายฝ่าย ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีแนวทางสำหรับปฏิบัติงานที่หลากหลาย ทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ขาดความชัดเจน และขาดความต่อเนื่อง

“ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อพิสูจน์สัญชาติอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เฉพาะที่ภูเก็ตเท่านั้นแต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ ซึ่งคงต้องหาวิธีในการสำรวจตรวจสอบว่ามีมากน้อยเพียงใด จากประมาณการณ์คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่าที่มีการจดทะเบียนด้วยซ้ำไป เท่าที่พอทราบเหตุผลเนื่องจากไม่ทราบว่าจะสามารถอยู่ต่อไปได้นานเท่าใด ส่งผลให้มีการพิสูจน์สัญชาติอย่างเต็มใจมากนัก เพราะไม่มั่นใจและขาดความชัดเจน จึงอยากให้รัฐบาลจัดทำแผนแม่บทที่ชัดเจนว่ามีรูปแบบในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างไร เนื่องปัจจุบันเมืองใดมีการใช้แรงงานต่างด้าวในเกือบทุกประเภทกิจการ เนื่องจากมีความขาดแคลนแรงงาน”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น