จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภูเก็ตติวเข้มผู้ประกอบการรองรับการเปิดการค้าเสรี


เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ห้องบอลรูม โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารแรงงานเพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี ซึ่งทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น ให้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน

นายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกาจัดทำ List of Products ระบุประเทศไทยมีการใช้แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับในการผลิตสินค้ากุ้ง อ้อย เครื่องนุ่งห่ม และห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตโดยแรงงานบังคับ แรงงานที่ใช้สัญญาผูกมัด และห้ามนำเข้าสินค้าที่ผลิตจากการค้ามนุษย์ และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำเผยแพร่ TIP Repost 2010 ปรับลดระดับประเทศไทยจากระดับ 2 เป็นระดับ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) คือ มีการใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็กในกิจการดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีความพยายามที่เด่นชัดและไม่เห็นว่าจะมีการแก้ปัญหาเพิ่มเติมในปีต่อไป นอกจากนี้ประเทศคู่ค้าของไทยหลายประเทศได้นำประเด็นแรงงานมาเป็นเงื่อนไขการค้า

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีแนวทางในการทำแผนการแก้ปัญหาระยะสั้นและยาว เช่น ประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งอนุสัญญาต่างๆ ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุง ออกกฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญา เช่น กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เป็นต้น และเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า จึงได้มีการจัดสัมมนาให้ความรู้ดังกล่าว เพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงานและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับตัวและเตรียมแนวทางรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอย่างเหมาะสม ตลอดจนเพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ใช้แรงงานได้รับทราบสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นายกิตติพงษ์กล่าว

ขณะที่นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ (Free Trade Agrement : FTA) นับเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องสำคัญเพราะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการค้าและอาจนำไปสู่แนวโน้มของการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เมื่อมีการแข่งขันย่อมมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น และมาตรฐานแรงงาน ก็คือมาตรการหนึ่งที่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญต่อการหยิบยกขึ้นมาใช้ในเชิงของการกีดกันในทางการค้า ซึ่งมาตรฐานแรงงานดังกล่าว คือ มาตรฐานของการจัดการด้านแรงงานที่สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบกิจการมีความรับผิดชอบทางสังคมมากน้อยเพียงไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น