จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

“จุรินทร์” เปิดโรงพยาบาลวชิระ สาขาหยี่เต้ง


เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 54 ที่บริเวณอาคารหยี่เต้ง สี่แยกเจ้าฟ้าตะวันออกตัดถนนบางกอก อ.เมือง ภูเก็ต นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานเปิด โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขาหยี่เต้ง โดยมีนายเรวัตื อารีรอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ จังหวัดภูเก็ต นายสมประสงค์ เอี่ยมสกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายแพทย์ศักดิ์ แท่นชัยสกุล สสจ.ภูเก็ต นายแพทย์เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผอ.รพ.วชิระภูเก็ต แขกผู้มีเกียรติ ประชาชน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดครั้งนี้

จากนั้นนายจุรินทร์ ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงการเปิดให้บริการโรงพยาบาล 4 มุมเมืองในจังหวัดต่างๆ เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลศูนย์ ว่า เพื่อเป็นการลดความแออัดในการให้บริการของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป จึงได้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาดังกล่าว 3 มาตรการหลัก คือ การเพิ่มหรือขยายพื้นที่ในการให้บริการ การขยายเวลาในการให้บริการนอกเวลาราชการ เช่น ช่วงเช้าตรู ช่วงเย็น ช่วยวันหยุด เป็นต้น และการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยให้เหมาะสม ซึ่งจะได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการส่งต่อผู้ป่วยที่ชัดเจนว่า ผู้ป่วยระดับใดที่จะต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป

“การเปิดให้บริการสาขาหยี่เต้งของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ถือเป็นแห่งแรกที่ดำเนินการตามนโยบายอย่างเป็นทางการ แม้ว่าปัจจุบันจะมีโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไปดำเนินการในลักษณะเช่นนี้มาก่อนแล้วในหลายพื้นที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมตัวเลข และการกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจนภายในเดือนมีนาคมนี้”

นายจุรินทร์ กล่าวว่า การที่ให้โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไปออกมาเปิดให้บริการโรงพยาบาลสาขานั้นจะเป็นการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่ออกมาให้บริการภายนอกโรงพยาบาลหลักทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก สามารถลดระยะเวลารอคอยการรับบริการ และสถานที่จอดรถ กว้างขวาง สะดวก เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้รับบริการ นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนในการก่อสร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เพราะการขยายสาขานั้นนอกจากดำเนินการโดยโรงพยาบาลเองแล้ว ยังสามารถที่จะดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ ได้ด้วย

ส่วนของบุคลากรด้านการแพทย์นั้นก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะจะเป็นการใช้บุคลากรที่มีอยู่เดิมมาหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไป แต่กรณีปัญหาขาดแคลนบุคลากรในภาพรวมนั้นก็ต้องดำเนินการไปตามแผนงานที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งในระยะเวลา 6 ปีนี้จำนวนแพทย์ที่มีอยู่น่าจะเพียงพอรองรับผู้ป่วยโดยสัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อ 1,500 คน นายจุรินทร์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น