จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กมธ.คมนาคมวุฒิสภา ตามปัญหาสนามบินภูเก็ต


เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ที่ห้องประชุมสำนักงานท่าอากาศยานภูเก็ต บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) คณะกรรมาธิการการคมนาคม คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นำโดยนางภารดี จงสุขธนามณี กรรมาธิการและประธานอนุกรรมาธิการด้านคมนาคมอากาศยาน วุฒิสภา ประชุมติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของท่าอากาศยานภูเก็ต โดยมีนายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ประธานกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา นางดวงใจ คอนดี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมด้วยผู้บริหารท่าอากาศยานภูเก็ต หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง นายสมบูรณ์ จิรายุส นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
ทั้งนี้ทางท่าอากาศยานภูเก็ต ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ว่า ท่าอากาศยานภูเก็ตมีเนื้อที่ประมาณ 1,382 ไร่ มีทางวิ่งยาว 3,000 เมตร มี 23 หลุมจอด รองรับอากาศยานขึ้น-ลงได้ชั่วโมงละ 20 ลำอาคารผู้โดยสาร เป็นอาคาร 3 ชั้น พื้นที่ 32,500 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ปีละ 6.5 ล้านคน มีพื้นที่ที่จอดรถพื้นที่ 24,863 ตารางเมตร จอดรถส่วนบุคคลได้ 366 คันและจอดรถบัสได้ 77 คัน อาคารคลังสินค้า พื้นที่ 6,950 ตารางเมตร รับสินค้าได้ปีละ 36,500 ตัน ปริมาณการจราจรทางอากาศเปรียบเทียบระหว่างปี 2552 กับปี 2553 พบว่าเพิ่มขึ้นประมาณ 28% โดยมีเที่ยวบินขึ้นลงประมาณ 46,000 เที่ยว ในขณะที่จำนวนผู้โดยสารซึ่งผ่านสนามบินเทียบระหว่างปี 2552 กับปี 2553 พบว่าเพิ่มขึ้นประมาณ 24% โดยมีจำนวน 4.7 ล้านคน มีสายการบินจำนวน 36 สายการบินเป็นสายการบินประจำ 31 สายการบินและเช่าเหมาลำ 5 สายการบิน จำนวน 60 เมือง 23 ประเทศ
อย่างไรก็ตามจากการเติบโตของผู้โดยสารอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดความแออัดของผู้ใช้บริการและเกินขีดความสามารถที่มีอยู่ จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตปี 2552 – 2556 เพื่อลดปัญหาดังกล่าวและสามารถที่จะรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 12.5 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 5 ล้านคนต่อปี และผู้โดยสารภายในประเทศ 7.5 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2563 และมีหลุมจอดเพิ่มขึ้น จาก 15 หลุมจอด เป็น 25 หลุมจอด มีงานที่จะต้องดำเนินการประกอบด้วย กลุ่มงานที่ 1 ออกแบบทางขับและลานจอดและขยายระบบเติมน้ำมันอากาศยาน กลุ่มงานที่ 2 ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ กลุ่มงานที่ 3 ก่อสร้างอาคารจอดรถ และสำนักงาน ทภก.ก่อสร้างอาคารทดแทน และกลุ่มงานที่ 4 ก่อสร้างระบบถนนและสาธารณูปโภคภายในท่าอากาศยานก่อสร้างระบบถนนและสาธารณูปโภคภายในท่าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างการดำเนินการ ขณะเดียวกันก็มีการจัดทำโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การปรับปรุงห้องน้ำ การเพิ่มจำนวนที่พักรอของผู้โดยสาร เป็นต้น
ทั้งนี้หลังจากที่ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้รับฟังบรรยายสรุปแล้ว ได้มีการเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การเพิ่มจำนวนที่นั่งสำหรับผู้โดยสารที่มีค่อนข้างน้อย จำนวนร้านค้าที่มีจำนวนมากเกินไป ปัญหาหลุมจอดสำหรับเครื่องบินเช่าเหมาลำที่มีไม่เพียงพอ การเตรียมพร้อมรับปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางเสียง น้ำเสีย หรือขยะ ปัญหาการจราจรภายในท่าอากาศยานและภายนอก ปัญหารถให้บริการทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง การจัดกิจกรรมช่วยเหลือสังคมที่ควรจะมีความต่อเนื่องและสร้างสรรค์ การชี้แจงข้อมูลของโครงการให้กับประชาชนในชุมชนได้รับทราบ การเพิ่มรันเวย์ การออกแบบอาคารใหม่ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นทั้งภาครัฐ ประชาชนและเอกชนได้มามีส่วนร่วมด้วย เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทางผู้บริหารท่าอากาศยานภูเก็ตชี้แจงและตอบข้อซักถามต่างๆ แล้ว นางภารดี กล่าวสรุปว่า ในบางประเด็นที่เป็นปัญหานั้นในส่วนของการท่าฯภูเก็ต ยังไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ เนื่องจากการบริหารจัดการจะเป็นการสั่งการมาจากส่วนกลาง เมื่อกลับไปกรุงเทพฯ แล้วจะได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาชี้แจงเพื่อให้เกิดความกระจ่างอีกครั้ง เพราะจากข้อปัญหาต่างๆ ที่ได้รับทราบพบว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างวิกฤตสำหรับภูเก็ตมาก โดยเฉพาะความแออัดของสนามบินซึ่งปัจจุบันเกินขีดความสามารถที่มีอยู่ และจะรายงานผลมาให้ทางจังหวัดภูเก็ตได้รับทราบด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น