จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กสทช.รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ



เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรมเมโทรโพล อ.เมือง จ.ภูเก็ต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ(ร่าง)แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่(พ.ศ.) และ(ร่าง) กำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.255-2559 ขึ้น ซึ่งเป็นการจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย โดยจัดรับฟังความเห็นสาธารณะพร้อมกัน 4 ภาค คือที่ภาคกลางและปริมณฑล จัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดอุดรธานี และภาคใต้จัดที่จังหวัดภูเก็ต
สำหรับการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่จังหวัดภูเก็ตนั้น พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีหน่วยงานราชการ ประชาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ(ร่าง)แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่(พ.ศ.) และ(ร่าง) กำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ (ร่าง)แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.255-2559ในครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย ซึ่งหลังจากรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ 1 สัปดาห์จะนำข้อเสนอที่ได้รับไปประชุมร่วมกันและสรุปออกมาเป็นแผนแม่บท เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ก็อีกประมาณ3-5เดือนหลังจากนี้
พล.อ.สุกิจ กล่าวว่า ร่างแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่(พ.ศ.2555)ฉบับนี้ มีวัตถุประเพื่อให้เกิดการบริหารคลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทั้งระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น โดยคำนึงถึงการแข่งขันโดยเสรีและเป็นธรรมและให้มีการกระจายการใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงทั้งด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น
โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ ยุทธศาสตร์การคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ ยุทธศาสตร์การใช้คลื่นความถี่ด้านความมั่นคงของรัฐตามความจำเป็น ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนไปสู่ระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล และยุทธศาสตร์การจัดการให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
พล.อ.สุกิจ กล่าวต่อไปถึงร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมนั้น(พ.ศ.2555-2559) ว่า ร่างดังกล่าวได้กำหนดทิศทางการพัฒนากิจการโทรคมนามคมในระยะ 5 ปี มุ่งเน้นให้ประชาชนได้ใช้บริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ หลากหลายผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมที่ทันสมัย เท่าเทียม ทั่วถึง ในราคาที่เหมาะสม บนพื้นฐานการแข่งขันที่เป็นธรรมภายใต้การใช้ทรัพยากรโทรคมนามคมอย่างคุ้มค่า รวมทั้งเป็นเครือข่ายหลักในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมภูมิปัญญาความคิดเชิงสร้างสรรค์ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองและเขตชนบทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน
โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ยุทธศาสตร์ด้านการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ ยุทธศาสตร์ด้านการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ด้านการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง ยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมและการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและความร่วมมือระหว่างประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น