จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บริจาคสร้างเรือไฟเบอร์กล๊าสช่วยผู้ประสบภัย



เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2554 ที่อาคารวังกานนท์ สถานีวิทยุกระจายเสียงเสียงสามยอดภูเก็ต (สสส.ภูเก็ต) อ.เมือง จ.ภูเก็ต พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. ร่วมกับนายการันย์ ผาณิตพิเชฐวงศ์ เจ้าของบริษัทภูเก็ตไฟเบอร์กล๊าส จำกัด นางณัฐพร ผาณิตพิเชฐวงศ์ ประธานชมรมชาวเหนือภูเก็ต-อันดามัน นายดิลก เอี่ยมอ้น ผู้อำนวยการบริษัท วีเลิฟป่าตองมีเดีย จำกัด และนางสาวสันทรี สังข์วรรณะ นักจัดรายการ รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงเสียงสามยอดภูเก็ต แถลงข่าวการเปิดรับบริจาคเรือไฟเบอร์กล๊าส พร้อมถุงยังชีพ เพื่อนำไปมอบให้กับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น
สำหรับการจัดทำโครงการเปิดรับบริจาคเรือไฟเบอร์กล๊าส พร้อมถุงยังชีพ ภายใต้ชื่อ “เรือร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม” เป็นความร่วมมือระหว่างสถานีวิทยุกระจายเสียงเสียงสามยอดภูเก็ต บริษัทภูเก็ตไฟเบอร์กล๊าส จำกัด ชมรมชาวเหนือภูเก็ต-อันดามัน บริษัท วีเลิฟป่าตอง มีเดีย จำกัด และภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ต กำหนดจำนวน 200 ลำ มูลค่าลำละ 5,000 บาท ซึ่งแต่ละลำจะมีขนาดความยาว 2.7 เมตร กว้าง 1 เมตร พร้อมด้วยชูชีพ 2 ตัว ไม้พาย 2 อัน กล่องโฟมยังชีพซึ่งมีของใช้เบื้องต้น เช่น ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ยากันยุง ผ้าอนามัย สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน น้ำพริกกุ้งเสียบ เสื้อผ้า ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น โดยสามารถบริจาคได้ตามกำลังศรัทธาที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขา โฮมเวิร์ค ภูเก็ต ชื่อบัญชี เรือร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม เลขที่บัญชีออมทรัพย์ 989-00-02155-4 ซึ่งเมื่อโอนเงินแล้วให้ส่งเอกสารการโอนเงินไปยังโทรสารหมายเลข 0-7637-7665 พร้อมชื่อและเบอร์โทรศัพท์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะได้ทำการพิมพ์ชื่อที่เรือ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ 081-8913498,081-6935509, 086-6830772 และ 081-7192979 ทั้งนี้จะมีการนำเรือดังกล่าวไปมอบให้กับทาง ศปภ.ประมาณสิ้นเดือนตุลาคมนี้
พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.กล่าวว่า นอกจากการจัดทำโครงการเปิดรับบริจาคเรือไฟเบอร์กล๊าส พร้อมถุงยังชีพแล้ว ในส่วนของตำรวจกองปราบปรามยังได้จัดส่งกำลังเจ้าหน้าไปร่วมปฏิบัติงานกับทาง ศปภ.จำนวนประมาณ 100 นาย และยังได้จัดกำลังอีกบางส่วนไปช่วยดูแลบริเวณคลองระพีพัฒน์ รวมถึงในพื้นที่นนทบุรี บางบัวทอง โดยร่วมกับทางทหารในการตรวจลาดตะเวนเพื่อป้องกันปัญหาการโจรกรรมบ้านเรือประชาชนที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมและต้องอพยพออกมาจากพื้นที่ นอกจากจากนี้ยังได้ร่วมกับทางกระทรวงสาธารณสุขอพยพผู้ป่วยในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร การร่วมสืบสวนหาข่าวและป้องกันแก็งค์มิจฉาชีพที่จะก่อเหตุซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน และการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ตลอดจนจะนำเรือจำนวน 10 ลำ เพื่อใช้ในการลาดตะเวนและดูแลพื้นที่ที่ประสบภัยซึ่งจำเป็นต้องใช้เรือเข้าไปดูแล เช่น ในเขตพื้นที่นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา เป็นต้น ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น