
“แนวคิดของการจัดทำวาระภูเก็ตนั้น จะมีการจัดระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาภูเก็ตที่ควรจะเป็นในอนาคตทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เบื้องต้นมองว่าประเด็นหลักๆ น่าจะประกอบด้วย การปกครอง ระบบขนส่งหรือโลจิสติกส์ การศึกษาและการกำหนดอัตลักษณ์ภูเก็ตที่ชัดชัด เพราะเมื่อเราเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว จากเดิมที่เราจะมีการแข่งขันเฉพาะภายในประเทศ แต่ต่อไปเราจะต้องแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดแนวทางในการพัฒนาที่ชัดเจน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อให้มีการเติบโตอย่างมีทิศทาง จำเป็นที่ต้องภาคส่วนจะร่วมมือกัน ซึ่งก็จะได้จัดให้มีการประชุมและระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ต่อไปในอนาคต”
นางอัญชลี กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ได้วางโครงข่ายไว้ว่าให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมท่องเที่ยวอาเซียน เชียงใหม่เป็นประตูท่องเที่ยวทางภาคเหนือ และให้ภูเก็ตเป็นฮับท่องเที่ยวโลก โดยได้มีการอนุมัติงบประมาณ 5,700 ล้านบาทขยายและปรับปรุงสนามบินภูเก็ตเพื่อให้รองรับนักท่องเที่ยวจาก 6.5 ล้านคน เป็น 12.5 ล้านคน และงบก่อสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ จำนวน 2,600 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนด้านการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนโดยนำเสนอโครงการรถไฟฟ้ารางเบาหรือโมโนเรล รองรับและแก้ปัญหาจราจร รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่จะต้องเพิ่มหลักสูตรในส่วนของภาษาอาเซียนเข้าไปเป็นภาษาที่ 3 ที่มีการดำเนินการแล้วขณะนี้คือ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เลือกภาษาอาหรับ ในขณะที่โรงเรียนสตรีภูเก็ตเลือกภาษาพม่า เป็นต้น รวมทั้งจะต้องยกมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรีให้ทัดเทียมกับสิงคโปร์ เพื่อป้องกันการถูกกีดกันและกดลดเงินเดือน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น