จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เลือกป่าตองนำร่องพื้นที่ “เซฟตี้โซน”



เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง.ผบ.ตร.เป็นประธานการประชุมกำหนดแนวทางการสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยมีนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รอง ผวจ.ภูเก็ต พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ที่ปรึกษา สบ.10 พล.ต.ท.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.สันติ เพ็ญสูตร ผบช.ภ.8 พร้อมด้วยนายตำรวจตั้งแต่ระดับ รอง.ผบช.-ผบก.และ ผกก.ในจังหวัดภาคใต้ตอน
บน ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ จ.ภูเก็ต อาทิ หอการค้าจังหวัด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัด ชมรมเจ็ทสกีหาดป่าตอง ชมรมรถแท็กซี่และสี่ล้อเล็กภูเก็ต เป็นต้น เข้าร่วม โดยใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง


ทั้งนี้ พล.ต.อ.ปานศิริ กล่าวได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของไทย จำนวน 2 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี ระหว่างปี 2554-2558 และภูเก็ตถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และมีรายได้เข้าสู่ประเทศปะกว่า 1.1 แสนล้านบาท แต่ที่ผ่านมามีปัญหาการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวในหลายเรื่อง ได้แก่ ปัญหารถแท็กซี่ป้ายดำ ปัญหาเจ็ทสกี และปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีโครงการจะใช้ภูเก็ตเป็นโมเดลแห่งแรกของประเทศ ในการแก้ปัญหาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อรองรับและสร้างวามมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว ภายใต้โครงการภูเก็ตโมเดล และเลือกป่าตองเป็นพื้นที่นำร่อง เพื่อให้เป็นเซฟตี้โซนของนักท่องเที่ยว 


อย่างไรก็ตามหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วยคณะได้ลงไปสำรวจจุดพักรถแท็กซี่ป้ายดำ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบริษัทในเครือพิโซน่ากรุ๊ป ตั้งอยู่บริเวณชั้น 3 อาคารจอดรถของห้างสรรพสินค้าจังซีลอนป่าตอง และนับเป็นคิวรถที่ใหญ่ที่สุดของป่าตอง โดยมีนายปรีชาวุฒิ กี่สิ้น กรรมการผู้จัดการ บริษัทในเครือพิโซน่ากรุ๊ป และผู้เกี่ยวข้องชี้แจงรายละเอียดของการให้จัดคิวและให้บริการว่า ได้มีการจัดทำประวัติของผู้ที่เป็นสมาชิก มีจุดจอดรถที่ชัดเจน ผู้ขับรถจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้ สวมใส่ยูนิฟอร์ม และมีป้ายแสดงราคาชัดเจน ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 150 คัน 


และมีการจัดการอบรมให้ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องทุกๆ 3 เดือน นอกจากนี้ยังมีการร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ด้วย ส่วนของการนำรถป้ายดำเข้าสู่ระบบให้ถูกกฎหมายก็คิดว่าไม่มีปัญหา แต่จะต้องมีการกำหนดราคาที่เหมาะสม รวมถึงการจัดแบ่งพื้นที่ในการให้บริการที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นเรื่องของมวลชนซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการพูดคุยทำความเข้าใจ ทั้งนี้เห็นด้วยกับการที่จะมีการติดตั้งกล้องซีซีทีวี เพราะจะทำให้สามารถพิสูจน์ข้อเจจริงได้ เนื่องจากมีบางครั้งนักท่องเที่ยวจะเป็นผู้ก่อเหตุก่อน แต่กลับถูกเหมารวมว่าคนขับแท็กซี่เป็นคนทำร้ายก็อยากให้ความเป็นธรรมกับคนขับรถด้วย 


ทั้งนี้พล.ต.อ.ปานศิริ กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรับฟังข้อมูลจากการลงพื้นที่ ว่า เป็นการติดตามความคืบหน้าในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะปัญหาแท็กซี่ป้ายดำ เจ็ทสกีและการหลอดลวงนักท่องเที่ยว ซึ่งได้สั่งการใน 4 ประเด็นหลักให้ทุกสถานีตำรวจจัดทำระบบฐานข้อมูลทั้งหมดของแหล่งท่องเที่ยว จุดล่อแหลมที่อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมหรือประกอบให้เกิดอาชญากรรมขึ้นได้ ขึ้นบัญชีผู้ประกอบการทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นในส่วนของแท็กซี่ป้ายดำ มีข้อมูลว่ามีอยู่ประมาณ 73 คิว มีรถแท็กซี่กว่า 1,380 คัน จากสถานที่ท่องเที่ยวกว่า 6 แห่ง ได้แก่ หาดป่าตอง ตัวเมืองภูเก็ต หาดบางเทา หาดไม้ขาว หาดกะตะ-กะรน และสนามบิน ขณะที่เจ็ทสกีมีจำนวน 286 ลำจาก 5 ชายหาดรอบเกาะ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงหรือกระทำไม่ถูกต้องกับนักท่องเที่ยว 


พล.ต.อ.ปานศิริ กล่าวว่า สำหรับภูเก็ตนั้นได้แจ้งกับทางผู้บังคับการฯ แล้วว่า ในพื้นที่สำคัญจะต้องทำเป็นเซฟตี้โซน โดยลำดับแรกที่จะดำเนินการ คือ พื้นที่ป่าตองทั้งหมด มีการจัดทำฐานข้อมูล จุดเสี่ยงจุดอับ มีการทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พี่น้องประชาชน และผู้ประกอบการ มีการใช้เทคโนโลยีทั้งกล้องวงจรปิดและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ด้วยการใช้หลักรัฐศาสตร์นำ ซึ่งจะเห็นผลภายใน 30 วันข้างหน้า และถือเป็นตัวชี้วัดจำนวนคดีที่เกิดขึ้นและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้คาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ภายใน 3 เดือน 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น