จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

“สตรีไทยห่วงใยสุขภาพ เทิดไท้ 12 สิงหา มหาราชินี”



เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต น.ส.ประพรศรี นรินทร์รักษ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับนางจันทรา กุลวีระอารีย์ นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-ภูเก็ต สมาชิกสมาคมสตรีนักธุรกิจฯ ตลอดจนผู้บริหารโรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต, โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต, โรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต และโรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต 


แถลงข่าวการจัดทำโครงการ “สตรีไทยห่วงใยสุขภาพ เทิดไท้ 12 สิงหา มหาราชินี” เพื่อรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้กับสตรีในจังหวัดภูเก็ตและใกล้เคียง โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต สมาชิกสมาคมสตรีนักธุรกิจฯ ตัวแทนจากโรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต, โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต, โรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต, โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต และสมาชิก อสม.ภูเก็ต เข้าร่วม 


ด้วยในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม 2556สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ได้ร่วมกับสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-ภูเก็ต ได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ครั้งที่ 4 พ.ศ.2556 ให้แก่สตรีในจังหวัดภูเก็ต และใกล้เคียง ในระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2556 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระชนมายุ 81 พรรษา 


รวมทั้งสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยได้รับการสนับสนุนการจัดทำจัดแพ็จเก็จพิเศษในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ThinPrep) และมะเร็งเต้านม (Mammogram) จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ราคา 3,100 บาท (ThinPrep & Digital Mammogram), โรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต ราคา 3,000 บาท (ThinPrep & Mammogram), 



โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต ราคา 1,230 บาท (ThinPrep) และโรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต ราคา 1,000 บาท (ThinPrep) ในระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2556 นอกจากนี้ยังมีการใช้สัญลักษณ์โบว์ ชมพู-เขียว ติดเสื้อเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้หญิงไทยเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมด้วย อย่างไรก็ตาม


น.ส.ประพรศรี กล่าวด้วยว่า มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนภูเก็ต โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม แต่โรคดังกล่าวหากตรวจพบเร็วก็จะสามารถรักษาได้ และจากการจัดกิจกรรมต่อเนื่องกันมาทำให้มีการตรวจพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีโครงการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้หญิงได้เกิดความตระนักในการดูแลตัวเอง 


ซึ่งจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า เฉพาะในเดือนสิงหาคมมีผู้เข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น จากปกติที่มีการตรวจเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,800 คน เพิ่มเป็นประมาณ 3,600 คน และในการจัดกิจกรรมปีนี้ก็คาดว่าน่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกกว่าเท่าตัว 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น