จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดีเอสไอเก็บหลักฐานช่วย “ชาวเลราไวย์” สู้คดี



เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 ที่ชุมชนไทยใหม่ (ชาวเล) บ้านราไวย์ หมู่ที่ 2 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พร้อมด้วยนายเรวัต แสงโชติ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษชำนาญการ ศูนย์ปฏิบัติการแผนที่และภูมิสารสนเทศ สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคฯ, เจ้าหน้าที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, สำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 


ลงพื้นที่เพื่อเก็บพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นก่อนปี 2497 จากการสำรวจขุดหาโครงกระดูกศพของบรรพบุรุษในพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ชาวบ้านได้ทำกันมาในอดีต รวมถึงการสอบสวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ก่อนปี 2497 ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในการต่อสู้คดี หลังจากที่มีกรณีพิพาทระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับเจ้าของผู้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาตั้งแต่ปี 2508 และการออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนเมื่อปี 2514 จนนำมาซึ่งการฟ้องขับไล่ให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ที่เคยอยู่อาศัยมายาวนานกว่า 300 ปี โดยปัจจุบันมีชาวเลอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างแออัดกว่า 200 ครัวเรือน 


พ.ต.ท.ประวุธ กล่าวว่า จากการที่ชาวบ้านร้องเรียนถึงการไม่ได้รับความเป็นธรรมไปยังกระทรวงยุติธรรม จึงได้มีความร่วมมือกันหลายหน่วยงาน ทั้งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์และสำนักศิลปากรที่ 15 ภูเก็ต เข้ามาดำเนินการสำรวจเพื่อหาพยานหลักฐานนำไปประกอบการต่อสู้คดี เน้นในส่วนของกิจกรรมที่อยู่บนพื้นที่ชุมชนราราไวย์ ว่า ในอดีตมีการทำกิจกรรมอะไรบ้าง ประกอบกับทราบว่า ในอดีตจะมีการฝังศพใกล้กับที่ตั้งบ้านเรือน รวมทั้งยังได้มีการนำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ฝังรวมไปด้วย จึงมาทำการสำรวจว่ายังมีร่องรอยดังกล่าวหกลงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด เพราะหากเจอหลักฐานดังกล่าว ก็จะสามารถนำมาตรวจสอบหาระยะเวลาของสิ่งของหรือโครงกระดูที่พบได้ 


“จากที่ได้พูดคุยกับหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าสิ่งที่น่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ คือ ช่วงระยะเวลาการฝัง ซึ่งจะสามารถนำไปใช้เพื่อโต้แย้งสิทธิกับผู้ที่อ้างสิทธิในการครอบครองที่ดินส่วนนี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบในเรื่องของดีเอ็นเอ ซึ่งมองว่า หากมีศพฝังอยู่ก็ควรตรวจเปรียบเทียบกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะสามารถบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนตายกับคนที่มีชีวิตอยู่” 


พ.ต.ท.ประวุธ กล่าวด้วยว่า ความเป็นมาของการใช้ชีวิตของชาวชุมชนน่าจะเป็นหลักฐานได้ดีส่วนหนึ่ง โดยมีภาพยนต์ที่บันทึกในช่วงปี 2512 ในคราวเสด็จพระราชการดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเยี่ยมชุมชน เห็นถึงสภาพพื้นที่ของชาวบ้าน มีหมู่บ้านอยู่ใต้ต้นมะพร้าวจำนวนมาก จึงมองว่าในปี 2508 ที่มีการเอา สค.1 มาออกเป็นโฉนด หากชาวบ้านอยู่เต็มพื้นที่อย่างนี้ ทำไมชาวบ้านถึงไม่คัดค้าน เพราะการออกโฉนดต้องมีเจ้าหน้าที่มารังวัด และในขณะนั้นมีการรังวัดจริงหรือไม่ ประเด็นหนึ่งที่จะต้องมาสอบคนที่อยู่ในภาพยนตร์ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ส่วนหนึ่ง และที่ตั้งโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ ซึ่งอยู่ใกล้กับชุมชน โดยทางผู้อำนวยการโรงเรียนฯ ก็ได้แจ้งรายชื่อนักเรียนจำนวนประมาณ 30 คน ที่ได้เข้ามาเรียนในช่วงปี 2400 กว่าๆ และเรียนจบก่อนปี 2497 บางคนยังมีชีวิตอยู่ ก็จะได้สอบสวนเพื่อประกอบเป็นหลักฐาน เพื่อให้ชาวบ้านนำไปใช้ต่อสู้คดีต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น