จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ยื่นหนังสือ “วรวัจน์” ช่วย “พลับพลึงธาร”



เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2555 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ได้ยื่นหนังสือต่อนาย เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทางจังหวัดระนองระงับการขุดลอกคลอง บริเวณคลองนาคา ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง และโครงการที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพลับพลึงธาร ซึ่งเป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ 


ทั้งนี้นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ด้วยองค์กรเอกชน 4 องค์กร ประกอบด้วยหอการค้าจังหวัดระนอง สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง สมาคมประมงจังหวัดระนอง และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง ได้จัดเสวนา เรื่อง การแก้ไขปัญหาเพื่ออนุรักษ์พลับพลึงธาร เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองระนอง 


ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ภาคเอกชนทำหนังสือยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ระงับการขุดลอกคูคลองบริเวณคลองนาคา และบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เพราะจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และวิถีชุมชน รวมทั้งเพื่อยับยั้งการสูญพันธุ์ของพลับพลึงธาร จึงขอให้รัฐมนตรีฯ ได้ออกหนังสือสั่งการระงับโครงการขุดลอกคลองดังกล่าว และโครงการที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพลับพลึงธาร เพราะพลับพลึงธารเป็นพืชที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง เพิ่มรายได้แก่ชุมชน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในปฎิทินการท่องเที่ยวของ ททท.อีกด้วย 


“ก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทย เคยมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท.0211.5/ว6858 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554 มายังจังหวัดระนองและจังหวัดพังงา ให้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท่องถิ่นในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณายับยั้งหรือชะลอโครงการขุดลอกคลองเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการลดลงของจำนวนพลับพลึงธารในธรรมชาติ แต่ขณะนี้จะมีการขุดลอกคลองอีก ซึ่งหากไม่มีการหยุดยั้งพลับพลึงธารสูญพันธ์แน่นนอน ซึ่งพลับพลึงธารเป็นพืชน้ำเฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบได้ที่จังหวัดระนองและพังงา จะออกดอกบานสะพรั่งในช่วงปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปีเท่านั้น ดอกตูมสีขาวมีลักษณะคล้ายหัวหอมชูเหนือน้ำเสมอ เมื่อบานแล้วจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ”


นางนฤมล ยังกล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการคุ้มครองแหล่งพลับพลึงธาร คือ ห้ามตัด เก็บ ขุด หรือกระทำการใดๆ ที่ทำให้ต้นหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพลับพลึงธารในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติได้รับความเสียหาย ห้ามกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานหรือทางสภาพทางธรรมชาติในลำน้ำ พื้นที่ริมน้ำ ที่ดินชายน้ำ ห้ามการล่วงล้ำลำน้ำ เว้นแต่กระชัง สัตว์น้ำ และอาคารหรือการล่วงล้ำที่มีลักษณะตามข้อ 4(1)ถึง(7)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 เป็นต้น นอกจากนั้นในพื้นที่ที่ประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ต้องดำเนินการตามมาตรการที่มีการเสนออย่างเข้มงวด และการดำเนินการและกิจกรรมใด ที่อาจส่งผลกระทบต่อแหล่งพลับพลึงธาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีเวทีประชาคมเพื่อเสนอข้อมูลลักษณะโครงการ และรับฟังความคิดเห็นจากท้องถิ่นและสรุปผลเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการระดับจังหวัดต่อไป


ด้านนายวรวัจน์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับหนังสือร้องเรียนเรื่องพลับพลึงธารของ จังหวัดระนอง เราจะไปตรวจสอบดูว่าพลับพลึงธารนั้นถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด แล้วถ้าหากว่าเป็นความจำเป็นต้องอนุรักษ์ไว้ ก็จะดำเนินการแก้ไขโดยเร็วทันที โดยได้มอบให้ผู้ตรวจประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ลงไปดำเนินการแล้ว 


สำหรับพลับพลึงธาร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หญ้าช้อง" เป็นพืชน้ำที่พบเฉพาะถิ่นในประเทศไทยที่ จ.ระนองและพังงา ซึ่งจะออกดอกขาวสะพรั่งลอยอยู่เหนือใบเขียวที่พลิ้วไหวคล้ายริบบิ้นในน้ำใส สะอาด มีกลิ่นหอมไปทั่วคุ้งน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเมื่อถึงฤดูฝนดอกพลับพลึงธารจะได้รับการผสมพันธุ์และติดผล แต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ข้างใน 2-4 เมล็ด เมื่อน้ำในคลองเพิ่มมากขึ้น ต้นใหม่ก็โตขึ้นมา ขณะเดียวกันหัวที่อยู่ใต้ดินซึ่งเป็นต้นแม่ก็งอกใบใหม่ 


โดยพื้นที่ที่พลับพลึงธารจะขึ้นมีลักษณะเฉพาะพิเศษ คือ เป็นลำธารใสสะอาดและพื้นใต้น้ำต้องเป็นดินปนทราย แสงแดดส่องถึงเพื่อให้รากหาอาหารได้ มีกรวดหินเพื่อไม่ให้ดินบริเวณที่รากเกาะยึดถูกน้ำพัดพาถอนรากถอนโคนไป แต่ปัจจุบันพลับพลึงธารตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากมีการลักลอบขุดเอาไปขายในต่างประเทศปีละหลายๆ ตัน นอกจากนี้การทำลายป่าต้นน้ำยังทำให้สภาพพื้นที่เปลี่ยนไป เกิดตะกอนดินทับถมมากขึ้น ปิดทับต้นและหัวพลับพลึงธารจนงอกไม่ได้ ตะกอนที่แขวนลอยในน้ำยังเกาะอยู่ตามใบทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโต และตายไปในที่สุด ปัจจุบันพลับพลึงธารคงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว คือ ที่คลองนาคาซึ่งชาวบ้านเห็นคุณค่า เกิดความรักความหวงแหน และร่วมกันอนุรักษ์ไว้ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น