จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เลือกตั้งสมานฉันท์เทศบาลเมืองกะทู้



เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ที่ห้องประชุมชั้น 3 เทศบาลเมืองกะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จ.ภูเก็ต เป็นประธานเปิดโครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลเมืองกะทู้ ซึ่งทางสำนักงาน กกต.ภูเก็ตจัดขึ้น โดยมีผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองกะทู้ และนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ตลอดจนผู้สนับสนุน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม 


นายกิตติพงษ์ เที่ยงคุณากฤต ผู้อำนวย กกต.ภูเก็ต กล่าวว่า การจัดอบรมดังกล่าว เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแก่ผู้สมัครฯ และเพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นเป็นไปด้วยความสมานฉันท์ สุจริตและเกิดความเที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง และสิ่งที่สำคัญเป็นการลดจำนวนเรื่องร้องเรียนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในจังหวัดภูเก็ตตามแนวทางโครงการสมานฉันท์ ทั้งนี้คากว่าจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตโปร่งใสและเที่ยงธรรม โดยการเลือกตั้งดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ 


ขณะที่นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคน คือ ผู้เสียสละที่มีความตั้งใจอาสาเข้ามาเป็นผู้แทนของประชาชนมาบริหารท้องถิ่น ต้องอุทิศตนทั้งแรงกายแรงใจเพื่อบำบัดทุกข์ บำบัดสุขให้แก่ประชาชน ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่จะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ ก็สามารถร่วมมือกันปฏิบัติภารกิจนี้ได้ ไม่ว่าจะในฐานะอยู่ในสภาหรือนอกสภาต่างคนต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่เพื่อส่วนรวม เพียงแต่คนละบทบาทหน้าที่กัน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง


แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ขณะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งก็ดี ภายหลังการเลือกตั้งก็ดี ผู้สมัครฯ ผู้สนับสนุน ญาติสนิทมิตรสหายมักเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เอารัดเอาเปรียบและฝ่าฝืนกฎหมายระเบียบการเลือกตั้ง ท้องถิ่นบางแห่งถึงขนาดเอาชีวิตฝ่ายตรงข้ามก็มีบ่อยครั้ง พอเลือกตั้งเสร็จพี่น้องขัดแย้งกัน เป็นต้น ซึ่งแสดงว่าบุคคลเหล่านั้นยังไม่เข้าใจว่าตนอาสาเข้าไปเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่ออะไร หากเข้าใจถ่องแท้แล้ว ว่าการเสนอตัวอาสาเพื่อให้ประชาชนเลือกไปเป็นตัวแทน ต้องเสียสละทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน 


หากประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของเราทำไมต้องเสี่ยงทำผิดกฎหมาย และทำไมต้องโกรธแค้นกัน ดังนั้นคาดการว่าการดำเนินการตามโครงการการเลือกตั้งสมานฉันท์ ฯ จะทำให้ผู้สมัครฯ ผู้สนับสนุนทุกคนเข้าใจกระบวนการเลือกตั้งได้เป็นอย่างดี และเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งได้ และจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย นายสมเกียรติกล่าว 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น