จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อที่หลากหลาย



เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องแววราไวย์ โรงแรมเมโทรโพล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม” ซึ่งศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี สาขาภูเก็ต ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กป่าตองเครือข่ายแรงงานต่างด้าว จังหวัดภูเก็ต 


และคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย แผนกยุติธรรมและสันติ จัดขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ในความแตกต่างหลากหลายของชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ และวัฒนธรรม ร่วมทั้งเพื่อแสวงหาคุณค่าที่ดีในการอยู่ร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยมีผู้เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้นำชุมชน (ไทย-พม่า) เข้าร่วม 


นายสุวัฒน์ เหลืองสะอาด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนามูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ด้วยศูนย์สังคมพัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี สาขาภูเก็ต กำลังเข้าสู่ปีที่ 5 ของการดำเนิน “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ” เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ อันเกิดจากแรงงานข้ามชาติ ที่เข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภูเก็ต 


เพื่อให้แรงงานข้ามชาติ นายจ้าง และชาวไทยในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของกันและกัน สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ และสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังช่วยลดอคติอันเกิดจากความแตกต่างในชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ และวัฒนธรรม ทำให้คนไทย ชาวต่างชาติอื่นๆ และแรงงานข้ามชาติในจังหวัดภูเก็ต เกิดการเอาใจใส่ต่อกันและกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 


ทางศูนย์ฯ จึงได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตจัดสัมมนาฯ ดังกล่าวขึ้น เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในความแตกต่างหลากหลายของชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ และวัฒนธรรม และเพื่อแสวงหาคุณค่าที่ดีในการอยู่ร่วมกัน ก็คาดหวังว่าผลจาการจัดสัมมนาฯ จัดทำให้เกิดค่านิยมในการยอมรับความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น 


เกิดสังคมแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการสร้างค่านิยมที่ทุกคนยอมรับในความแตกต่างหลากหลายของกันและกัน เคารพศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชน ปรับหลักคิดและทัศนคติต่อประเทศเพื่อนบ้าน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเรียนรู้อัตลักษณ์ร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง นายสุวัฒน์กล่าว 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น