จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ภูเก็ตเร่งประชาสัมพันธ์ป้องกันปัญหาไข้เลือดออก



เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 ที่ห้องประชุมอาคารวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายศุภชัย โพชนุกุล นายอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การป้องกันปัญหาไข้เลือดออก ซึ่งทางโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตจัดขึ้น เพื่อให้สถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำงานประสานกัน และเพื่อให้มีแนวทางประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ ๆ โดยแนวคิดนักศึกษา


โดยมีนายรังสรรค์ พลสมัคร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต นพ.ทวีศักดิ์ เนตรวงศ์ แพทย์เชี่ยวชาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นพ.นรา กิ่งแก้ว รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต คณะแพทย์จากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และนักศึกษาด้านสาธารณสุข นิเทศศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมประมาณ 100 คน ซึ่งประเด็นในการสัมมนาจะเป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดไข้เลือดออก ความรุนแรงของโรค รวมทั้งวิธีการในการป้องกันโรค 


นายศุภชัย กล่าวว่า เนื่องจากในปีนี้สถานการณ์ของไข้เลือกออกมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าทั่วประเทศจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่าของปีที่ผ่านมา ดังนั้นจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเพื่อลดจำนวนผู้ป่วย และจากการหารือร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ต 


พบว่าความร่วมมือของสังคมมีส่วนสำคัญมาก เพราะหากไม่ดำเนินการวิกฤตภาวะไข้เลือดออกจะมากและรุนแรงกว่าปัจจุบัน โดยนักเรียน นักศึกษา และประชาชนเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกยุงลายกัด และอาจถึงขั้นเสียชีวิตในบางรายที่รักษาไม่ทัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ช่วยเผยแพร่ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย 


อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดภูเก็ตพบว่าโรคไข้เลือดออกก็มีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน มีข้อมูลจากทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระบุว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาการเริ่มต้นของไข้เลือดออก คือ มีไข้สูง 1 – 2 วัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง วันที่สามและสี่ผู้ป่วยจะเริ่มช็อก และอาจเสียชีวิตได้ 


ดังนั้นวิธีการป้องกัน คือ เมื่อมีไข้ 1-2 วัน ให้ทายากันยุงแล้วรีบไปพบแพทย์ เพื่อเจาะเลือดตรวจอาการ, ห้ามซื้อยาแก้ไขสูง แก้ปวดเมื่อยกินเอง เพราะจะทำให้เลือดออกอวัยวะภายในอย่างรุนแรง มีโอกาสตายสูง กำจัดยุงในบ้านของตนเอง โดยใช้สเปรย์ฉีดพ่นตัวยุงติดต่อกัน 3 วัน 


ตรวจสอบภาชนะเก็บน้ำภายในบ้าน รอบบริเวณอาคารบ้านเรือนของตนเองทุก 7 วัน ด้วยปฏิบัติการ 5 ป. 1 ข. คือ ปิดภาชนะ เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ปฏิบัติจนเป็นนิสัย และ ขัดไข่ยุงลาย ตามขอบภาชนะ เพราะไข่ยุงอยู่ได้นานถึง 2 ปี นายศุภชัยกล่าว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น