จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศธ.หนุนโรงเรียนในภาคใต้ พัฒนาหลักสูตร EP/MEP



เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเพิร์ล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรของ EP/MEP ภาคใต้ ปีงบประมาณ 2556 


โดยมีนายโกศล ไสขาว ผู้อำนวยการโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานโครงการ EP/MEP ภาคใต้ นายอุเทน จิตต์สำรวย ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีภูเก็ต น.ส.สุวิภา ตั้งก่อสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 (ภูเก็ต พังงา ระนอง) คณะผู้บริหาร ผู้ประสานงาน EP/MEP ภาคใต้, ครู- อาจารย์ จากโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จากระดับประถมศึกษา จำนวน 16 โรงเรียน และระดับมัธยมศึกษา 29 โรงเรียน เข้าร่วม 


นายโกศล กล่าวว่า ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมาย และกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาสมรรถนะและทักษะในการดำรงชีวิต


โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ระดับ เปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ มีความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติต่อไป 


“การจัดฝึกอบรมดังกล่าว ทางโครงการหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ โรงเรียนสตรีภูเก็ต ได้รับมอบหมายและสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนอนุบาลภูเก็ต ในการพัฒนาหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษของโรงเรียนในภาคใต้ที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ 


เพื่อพัฒนาครูให้สามารถนำเนื้อหาสาระของ AEC นำไปบูรณาการในรายวิชาที่สอน เพื่อพัฒนาครูให้สามารถวัดประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์” นายโกศล กล่าว 


ขณะที่นายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวเพิ่มเติมว่า นับเป็นโอกาสที่ดีที่สถาบันภาษาอังกฤษและโรงเรียนต้นสังกัดทุกโรงเรียนให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาหลักสูตรของ EP และ MEP ภาคใต้ ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรหลายฝ่าย ทั้งผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการ ครู ผู้ปกครอง และผู้เรียน ร่วมกันออกแบบและจัดทำหลักสูตร เพื่อนำไปพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพด้านการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ และเตรียมพร้อมในการที่จะเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 ด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น