จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ถอดบทเรียนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชุมชน



เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556 ที่ห้องประชุมสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดภูเก็ต นางเอมจิตร ปาละกุล หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานยุติธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิด โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนและสังคม ปี 2556 “การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระดับจังหวัด ชุมชนและศูนย์กิจกรรมหน่วยงานภาคีในพื้นที่” 


โดยมีนายวิศาล สบายจิตร ข้าราชการบำนาญ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต นายสุชล ชอบดี ประธานเครือข่ายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจังหวัดภูเก็ต นายจรัญ ธัญญอุดร นายกสมาคมอาสาพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วม 


นางเอมจิตร กล่าวว่า ด้วยในปี 2556 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มอบหมายให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดภูเก็ต ดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนและสังคม ปี 2556 โดยมีพนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจังหวัดภูเก็ตและผู้ช่วยฯ เป็นผู้ประสานการดำเนินงานในพื้นที่ และได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการแผนการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน เพื่อร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ปี 2556


โดยมีเป้าหมายลดปริมาณคดีอาญากรรมและคดีอื่นๆ ในชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย สู่ความสมานฉันท์และสันติสุข ซึ่งมีทั้งสิ้น 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อบูรณาการแผนการดำเนินกิจกรรมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน ซึ่งในที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบให้ขับเคลื่อนกิจกรรมของศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระดับจังหวัดและระดับชุมชน (ฉลอง) กิจกรรมที่ 2 การดำเนินกิจกรรมศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระดับจังหวัด กิจกรรมที่ 3 การดำเนินกิจกรรรมผ่านสื่อชุมชน กิจกรรมที่ 4 การดำเนินกิจกรรมผ่านศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชนฉลอง กิจกรรมที่ 5 การดำเนินกิจกรรมเปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทตำบลรัษฎา และกิจกรรมที่ 6 การประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปและถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท 


อย่างไรก็ตามจากการประชุมร่วมกับของศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระดับจังหวัด และระดับชุมชน ซึ่งได้มีการนำเอาบทเรียนของศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ตำบลฉลองมาดำเนินการ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคลต่อบุคคล บริษัทเอกชนกับบุคคล เช่น ปัญหาบุกรุกที่ดิน การฟ้องร้องดำเนินคดี การบังคับคดี ปัญหาระหว่างบ้านเรือนอาศัยที่อยู่ติดกัน เป็นต้น ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาจะมีการนำผู้นำชุมชนเข้าไปพูดคุยเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งส่วนใหญ่สามารถจะตกลงกันได้ นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังให้คำปรึกษาทางด้านข้อกฎหมาย และข้อร้องเรียนต่างๆ เนื่องจากว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่นิยมที่จะไปติดต่อกับส่วนราชการ ซึ่งก็เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เดือดร้อนได้อีกทางหนึ่ง นางเอมจิตรกล่าว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น