จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยเร่งเพิ่มค่าสินไหม



เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2556 ที่โรงแรมเอส.บี. ลิฟวิ่งเพลส ถ.พัฒนา ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายพิศิษฐ์ วิบูลย์ศิลป์ ผู้จัดการภาคใต้ตอนบน บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด พร้อมด้วย นายไพฑูลย์ ศิลปวิสุทธิ์ ผู้จัดการสาขาอาวุโส จังหวัดภูเก็ต บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ร่วมแถลงข่าวแนะนำภารกิจของทางบริษัทฯ พร้อมทั้งมอบหมวกกันน๊อคให้กับผู้สื่อข่าว และมอบกระบองไฟให้กันมูลนิธิกุศลธรรมและศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว อบจ.ภูเก็ต 


ทั้งนี้นายพิศิษฐ์ วิบูลย์ศิลป์ ผู้จัดการภาคใต้ตอนบน บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวว่า จากปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยที่มากถึง 26,000 คนต่อปี ติดอันดับ 6 ของโลก สร้างความสูญเสียและความเสียหายแก่ทรัพย์สินและทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 


จึงได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 10 ทวิ ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 โดยได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องและจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนหรือเงินต่างๆ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมถึงดำเนินการตามที่บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้มอบหมาย 


ซึ่งบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้มีการจัดตั้งสาขาในทุกจังหวัด เพื่อให้บริการแก่ประชาชนครอบคลุมทั้งประเทศ รวมทั้งได้มีการจ่ายสินไหมทดแทน ตาม พ.ร.บ. แทนทุกบริษัทประกันภัย ซึ่งผู้เสียหาย ทายาท ผู้รับมอบอำนาจ หรือโรงพยาบาล ผู้รักษาพยาบาลสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ 


ขณะที่นายไพฑูลย์ ศิลปวิสุทธิ์ ผู้จัดการสาขาอาวุโส จังหวัดภูเก็ต บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้กล่าวว่า บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ยังเป็นคณะกรรมการระดับประเทศในการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจากรถทางถนน ซึ่งการรณรงค์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรสหประชาชาติที่กำหนดให้ ปี ค.ศ. 2011-2020 (พ.ศ 2554-2563) เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน 


บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด จึงได้ร่วมกับตำรวจภูธรภาค 1 จัดตั้งโครงการ หน่วยงานต้นแบบด้านการสวมหมวกนิรภัย 100% โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนใน 9 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สิงห์บุรี อยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ มีหน่วยงานเอกชน 209 แห่ง เข้าร่วมลงนาม 


อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะเสริมสร้างให้เป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้เกิดกับประชาชนที่ใช้รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีพนักงานของหน่วยงานที่ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคนเป็นต้นแบบ ซึ่งหากแต่ละหน่วยงานสามารถเสริมสร้างให้พนักงานทุกคนปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยบรรลุตามเป้าหมายของทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนได้อย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น