จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

กมธ.แรงงานวุฒิตามสถานการณ์แรงงานภูเก็ต


เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่) นายขวัญชัย พนมขวัญ รองประธานคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม คนที่หนึ่ง วุฒิสภา เป็นประธานการรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เพื่อรับทราบปัญหาทางด้านแรงงานของ 3 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน โดยมี นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน และตัวแทนผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วม
นายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์แรงงานของจังหวัดภูเก็ตว่า จากข้อมูลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรในจังหวัดภูเก็ตไตรมาส 1 ปี 2554 พบว่า ประชากรในวัยทำงาน อายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 227,707 คน ผู้ที่อยู่กำลังแรงงาน จำนวน 163,475 คน จำแนกเป็นผู้มีงานทำ 161,451 คน หรือร้อยละ 98.76 คน ของผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด เป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม จำนวน 6,891 คน(ร้อยละ 4.27 ของผู้มีงานทำทั้งหมด) ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.44 และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม จำนวน 154,560 คน (ร้อยละ 95.73 ของผู้มีงานทำทั้งหมด) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.19 โดยกลุ่มผู้ที่ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะทำงานในสาขาการโรงแรมและภัตตาคารมากที่สุด รองลงมาคือ สาขาขายส่ง การขายปลีก และสาขาการก่อสร้าง ตามลำดับและผู้ว่างงาน 2,024 คน หรือร้อยละ 1.24 หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าลดลงร้อยละ 43.42
“จากการสำรวจในปี 2554 พบว่ามีการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งมีระดับการศึกษา ม.6 มากที่สุด 1,871 อัตรา (ร้อยละ 24.14) รองลงมาได้แก่ระดับ ม.3 1,535 อัตรา (ร้อยละ 19.80) และระดับปริญญาตรี 1,356 อัตรา (ร้อยละ 17.49) เมื่อจำแนกผลการสำรวจออกเป็นตำแหน่งงานที่ขาดแคลน พบว่า ตำแหน่งพนักงานเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มขาดแคลนสูงที่สุด ประมาณ 648 อัตรา ระดับการศึกษา ม.6 รองลงมาได้แก่ แคชเชียร์ 613 อัตรา ระดับการศึกษา ม.6 ปวช/ปวส. พนักงานต้อนรับ (โรงแรม) 498 อัตรา ระดับการศึกษาปริญญาตรีและปวส. พนักงานขายสินค้า/พนักงานขายหน้าร้าน 411 อัตรา ระดับการศึกษา ม.3 และนักการตลาด/เจ้าหน้าที่การตลาด/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย 355 อัตรา ระดับการศึกษาปริญญาตรี”
นายสุทธิพงศ์ กล่าวว่า แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนในระยะเร่งด่วนนั้น ทางหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดภูเก็ตได้ร่วมกันดำเนินการโครงการตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ทำให้ได้รับทราบถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในภาคธุรกิจภัตตาคารและโรงแรม ซึ่งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภูเก็ตได้เปิดอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือให้แรงงานมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน จัดโรดโชว์แรงงานสู่อันดามัน จัดกิจกรรมนัดพบแรงงาน ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ว่างงานได้รับโอกาสในการมีงานทำ 2,304 คน ได้รับการบรรจุงานทันที 949 คน นอกจากนี้ยังได้มีการประสานงานกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการผลิตบุคลากรเพื่อให้เพียงพอรองรับความต้องการของตลาดด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น