จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ภูเก็ตพัฒนาอาชีพชาวเลชุมชนบ้านแหลมหลา



เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 บริเวณลานอเนกประสงค์ ชุมชนบ้านแหลมหลา หมู่ที่ 5 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เปิดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลบ้านแหลมหลา หมู่ที่ 5 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง โดยมีนายสุพจน์ ชนะกิจ นายอำเภอถลาง นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจ.ภูเก็ต นายสมพร แทนสกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านแหลมหลา-ท่าฉัตรไชย หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ชาวบ้านและชาวเลในชุมชน ตลอดจนภาคเอกชนในพื้นที่เข้าร่วม 


โอกาสเดียวกันนี้มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย ได้มีการมอบกุญแจบ้านให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งต่อให้กับทาง น.ส.นิสากร สุวรรณมณี (เจ้าของบ้าน) ซึ่งทางมูลนิธฺฯ ได้สร้างบ้านให้ นอกจากนี้ทางผู้บริหารเครือโรงแรมเจดับบลิวแมริออท ยังได้มอบสายสร้อยซึ่งได้จากการสนับสนุนให้กับกลุ่มแม่บ้านทำการถักร้อย การมอบอุปกรณ์เครื่องมืออาชีพ มอบอุปกรณ์ปรับปรุงรั้วชุมชน 


อุปกรณ์ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้หมู่บ้าน มอบทุนการศึกษา กองทุนพัฒนาเด็กชนบทจังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 ทุนๆ ละ 1,200 บาท ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และทุนการศึกษาจากศูนย์พัฒนาสังคมที่ 40 จำนวน 15 ทุนๆ ละ 1,000 บาทให้กับนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา รวมทั้งมอบเกียรติบัตรให้แก่เยาวชนในชุมชนที่ทำการฝึกดนตรีจำนวน 17 คนด้วย


นายสุพจน์ ชนะกิจ นายอำเภอถลาง กล่าวว่า ด้วยกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ได้อนุมัติงบประมาณ ปี 2556 ให้อำเภอถลางดำเนินการโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตและชาติพันธุ์ชาวเล สำหรับชุมชนบ้านแหลมหลา ประกอบด้วยกิจกรรม 1 .ปรับปรุงรั้วของชุมชน 2.ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ชุมชน 3.ส่งเสริมอาชีพดนตรีเยาวชน 4. ส่งเสริมอาชีพถักสร้อยข้อมือของกลุ่มแม่บ้าน 


และ 5.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพของครัวเรือน จำนวน 60 ครัวเรือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 714,200 บาท ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ชาวเลมีการประกอบอาชีพมีรายได้ที่แน่นอน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ชาวเลมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนชาวเล เป็นชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน 


ด้านนายสมพร แทนสกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านแหลมหลา-ท่าฉัตรไชย ต.ไม้ขาว อ.ถลาง กล่าวว่า พื้นที่ของหมู่ที่ 5 มีจำนวน 2,800 ไร่ โดยเป็นที่ราชพัสดุเกือบทั้งหมด มีประชาชนอาศัยอยู่จำนวน 940 ครัวเรือน 2,490 คน โดยเป็นการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างชาวไทยใหม่หรือชาวเล หรือกลุ่มชาติพันธุ์มอแกล็น จำนวน 157 ครัวเรือน 1,055 คน และประชาชนถิ่นฐานเดิม จำนวน 783 ครัวเรือน 1,435 คน 


ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ค้าขายและรับจ้าง จุดแข็งของพื้นที่ คือ การอยู่ร่วมกันของพี่น้องสองสายพันธุ์ที่แตกต่างทางด้านวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรม มีการร่วมพัฒนาหมู่บ้านช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการกำหนดคำขวัญ ว่า บ้านแหลมหลา –ท่าฉัตรไชย เมืองหน้าด่าน ตำนานสารสิน ถิ่นมอแกล็น ดินแดนวัฒนธรรม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น