จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ใช้งบกว่า 15 ล. นำจีพีเอสตรวจสอบเรือยอช์ท



เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำและควบคุมการใช้งานระบบบริหารจัดการจุดตรวจเข้าออกและควบคุมเรือยอช์ทท่าเทียบเรือฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เพื่อติดตามความคืบหน้าการควบคุมและการใช้งานระบบบริหารจัดการจุดตรวจเข้า-ออกน่านน้ำภูเก็ต และควบคุมเรือแบบเบ็ดเสร็จ หรือวันสต็อบเซอร์วิสของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 


ทั้งเจ้าท่า ศุลกากร ตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยอื่นๆ บริเวณท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เรือยอช์ทที่เข้ามาภูเก็ต ปีละกว่า 3,000 ลำ โดยมีนาวาเอกกฤษฎา รัตนสุภา รอง กอ.รมน.จังหวัดภูเก็ต นายธำรงค์ ทองตัน ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.ภูเก็ต) นายสาคร ปู่คำ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต นายประสิทธิ์ โยธารักษ์ นักบริหารงานทั่วไป 7 รกท.ผู้อำนวยการกองกิจการขนส่ง อบจ.ภูเก็ต ตัวแทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต ด่านศุลกากรภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม 


นายสาคร ปู่คำ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต รายงานความคืบหน้าโครงการระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ ซึ่งกรมเจ้าท่าได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก ครม.สัญจร จ.ภูเก็ต เมื่อปี 2555 มาดำเนินการ ว่า เป็นโครงการที่จะมีการติดตั้งเสารับสัญณาณจีพีเอสจากเรือยอชต์ที่เข้ามาในน่านน้ำของภูเก็ตทุกลำ ซึ่งจะติดตั้ง 3 จุด คือ บริเวณอ่าวฉลอง อ.เมืองภูเก็ต บริเวณหาดป่าตอง อ.กะทู้ และพื้นที่ อ.ถลาง 


โดยมีศูนย์ควบคุมอยู่ที่ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณกับจีพีเอสที่อยู่ในเรือยอช์ท มีหลักการทำงานคือ เมื่อเรือยอช์ทเข้ามาในน่านน้ำภูเก็ตก็จะต้องไปรายงานตัวที่จุดควบคุมเรือที่อ่าวฉลอง และหน่วยงานที่รับผิดชอบจะมอบจีพีเอสให้แก่เจ้าของเรือ เพื่อนำไปติดตั้งในเรือ โดยมีการวางเงินค้ำประกันไว้ เมื่อจะมีการนำเรือออกจากภูเก็ต ก็จะต้องนำจีพีเอสมาคืน พร้อมรับเงินประกัน ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้สามารถทราบไดว่าเรือยอช์ทที่เข้ามาภูเก็ตแล้วไปอยู่ ณ จุดใดบ้าง 


“ขณะนี้กรมเจ้าท่าได้ทำสัญญาการติดตั้งเสารับสัญญาณจีพีเอสกับทางบริษัท เอส ดี เอ กรุ๊ป เรียบร้อย แล้ว โดยสัญญาจะสิ้นสุดในวันที่ 22 ตุลาคม 2556 ในวงเงินงบประมาณ 15,092,200 บาท นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้บริษัท โกลด์เด้นแพลน จำกัด ทำการศึกษาออกแบบรายละเอียดเขื่อนกันคลื่นที่บริเวณอ่าวฉลอง เพื่อไม่ให้คลื่นซัดกระแทกเรือยอช์ทที่เข้ามาจอดในบริเวณทุ่นจอดเรือที่กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว 


ซึ่งสามารถจอดเรือยอช์ทขนาดไม่เกิน 60 ตันกรอส ได้ประมาณ 44 ลำ รวมทั้งการซ่อมแซมทุ่นจอดเรือด้วย คาดว่าจะสามารถให้เรือยอช์ทเข้ามาจอดได้ภายในกลางปี 2558” นายสาคร รายงาน และยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ปัจจุบันมีเรือยอช์ทที่เข้ามาภูเก็ตเดือนละประมาณ 250-300 ลำ หรือประมาณปีละ 3,000 ลำ โดยเมื่อนำเรือมาแจ้งเข้ากับทางศูนย์บริการฯ แล้ว ก็จะไปจอดตามมารีน่าของเอกชนต่างๆ ที่มีอยู่ 


ทางด้านนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า อยากให้เจ้าท่าได้รายงานจำนวนเรือยอช์ทที่เข้าออกภูเก็ตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมรองรับ เช่น การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณท่าเรืออ่าวฉลอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นว่า ในระหว่างรอการสร้างเขื่อนกันคลื่น และทุ่นจอดเรือ ซึ่งจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีกว่า อยากจะให้กรมเจ้าท่าจัดทำทุ่นชั่วคราวในการให้เรือยอช์ทเข้ามาจอดเทียบท่าได้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจค้นเรือได้สะดวก รวมทั้งการจัดระเบียบการจอดเรือบริเวณทุ่นจอดเรือซึ่งเจ้าท่าได้สร้างไว้แล้วด้วย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น