จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อบจ.ภูเก็ต เตรียมเข้าบริหารท่าเรือสำราญอ่าวฉลอง



เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ที่ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง ต.ฉลอง อ.เมือง ภูเก็ต นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต นายธำรง ทองตัน ธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ เพื่อตรวจความพร้อมในการส่งมอบให้ อบจ.ภูเก็ต รับไปดำเนินการ และติดตามความคืบหน้าการพัฒนาท่าเรือ และการบริหารจัดการท่าเรือ


นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า “อาคารนี้เป็นตัวอาคาร PPCC ของจังหวัดภูเก็ต ที่ควบคุมการเข้า-ออกของเรือทางทะเลด้านอันดามัน ซึ่งเดิมนั้นเปิดบริการตั้งแต่ปี 2551 และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ทางจังหวัดภูเก็ต โดยกรมเจ้าท่า ก็ได้ตั้งงบประมาณในเรื่องนี้เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่ รวมถึงมีระบบทุ่นจอดเรือด้านล่างในทะเล ซึ่งในวันนี้เราได้มาดูความพร้อมที่จะส่งมอบต่อให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต รับไปดำเนินการ สำหรับในส่วนการให้บริการ One Stop Service กับเรือยอร์ชที่จะเข้ามานั้น ประกอบด้วยหลายหน่วยงาน ทั้งทางทัพเรือภาคที่ 3 กรมเจ้าท่า ด่านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง ฯลฯ 


โดยเป็นชุดบูรณาการทำงานร่วมกันตรงจุดนี้ภายใต้การสนับสนุนช่วยเหลือของ อบจ.ภูเก็ต ในการบริหารจัดการตัวอาคาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวของชุมชน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา และเราจะยกระดับมาตรฐานในระดับเวทีอาเซียนและสู่ระดับโลกต่อไป ซึ่งในอนาคตเรือยอร์ชที่จะเข้ามาที่นี่จะต้องแจ้งระบบการลงทะเบียน ทำให้รู้ล่วงหน้าในการเข้ามาของเรือทั้งหมด และจะรู้ระบบการเข้ามาลงทะเบียนที่ PPCC ซึ่งต่อไปจะเปลี่ยนเป็น APCC เพราะจะไม่ใช้คำว่า ภูเก็ต แต่จะใช้คำว่า อันดามัน โดยจะดูแลทะเลทั้งหมดทั่วทั้งอันดามัน และจะยกระดับไปแข่งขันกับมาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งที่นี่จะเป็นศูนย์มาตรฐานระดับภูมิภาค และเชื่อมต่อกับโลกต่อไป” 


นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต กล่าวว่า “หากดูจากระบบการควบคุมเรือของทางจังหวัด พบว่าจะมีระบบติดตามเรือทุกลำที่จะเข้ามา ซึ่งเมื่อระบบดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน 4-5 เดือนนี้ ทาง อบจ.ภูเก็ต จะได้รีบมาดำเนินการเรื่องการจัดสถานที่ให้พร้อม เรื่องการรองรับการท่องเที่ยว One Stop Service จะมาอยู่ที่นี่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร กรมเจ้าท่า ทางทหารเรือ การกักกันโรคต่างๆ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะมาอยู่ที่นี่ เรือทุกลำที่จะเข้ามาจอดจังหวัดภูเก็ต จะต้องมารายงานที่นี่ โดยที่แห่งนี้จะเป็น One Stop Service อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของทางจังหวัดและกรมธนารักษ์ ที่จะทำให้เป็นศูนย์แห่งแรกของประเทศไทย ถือว่าเป็นความร่วมมือที่น่าชื่นชมมาก โดยเราจะทำงานร่วมกันให้เป็นรูปธรรมแล้วรองรับอาเซียนที่จะเกิดขึ้นมาอีกสองปีข้างหน้า 


ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทางจังหวัดภูเก็ตที่ได้ให้ระบบที่ดี รวมถึงกรมเจ้าท่า และกรมธนารักษ์ ที่ให้ อบจ.ภูเก็ต เป็นส่วนหนึ่ง โดยศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานต่างๆ จะมาร่วมมือกัน โดยทาง อบจ.ภูเก็ต จะทำการศึกษารายละเอียดและออกแบบให้ลงตัวและเหมาะสำหรับเรือยอร์ชอย่างแท้จริง สำหรับในตอนนี้มีเรือปีละประมาณกว่า 1,000 ลำ ที่มารายงานแล้ว แต่ต่อไปอาจจะถึง 3-4 พันลำ เพราะเรือที่ไม่เคยแจ้ง ก็จะต้องเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ฉะนั้น เจ้าหน้าที่อาจจะต้องมีจำนวนมากขึ้น สถานที่อาจจะไม่เพียงพอ โดยในช่วงแรกเราจะทำท่าเรือแห่งนี้ให้เป็นท่าเรือสำหรับการบริการให้ดีที่สุด ในส่วนของความพร้อมในการรับมาดำเนินการบริหารจัดการนั้น ในเรื่องงบประมาณ ไม่น่าจะมีปัญหา แต่ตอนนี้รอเรื่องการทำทุ่น ซึ่งทางกรมเจ้าท่า ได้ตั้งงบประมาณปี 2557 ที่จะกันไม่ให้มีคลื่นขนาดใหญ่มากระทบเรือที่จะเข้ามา” 


ทางด้าน นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต กล่าวว่า “ทางกรมเจ้าท่า ได้ก่อสร้างในส่วนของตัวอาคารเสร็จแล้ว แต่ขณะนี้ท่าเรือยังไม่เรียบร้อย แต่ยังอยู่ในช่วงประกัน ซึ่งเกิดจากปัญหาทางเทคนิคในเรื่องเขื่อนกันคลื่น ไม่สามารถกันคลื่นที่เป็นลักษณะคลื่นยาวได้ตามผลการศึกษา โดยในครั้งแรกที่ศึกษาไว้ไม่มีคลื่นเช่นนี้ ดังนั้น จึงขอเรียนว่า ปัจจุบันนี้อากาศมีการเปลี่ยนแปลง มีคลื่นลักษณะยาว เราจึงต้องแก้ไขปัญหา คือ ตัวเขื่อนกันคลื่น โดยต้องทำแผงกันคลื่นที่อยู่ข้างล่างลงไปให้ติดพื้นท้องทะเล ทั้งนี้ เราได้ตั้งงบประมาณปี 2557 จำนวน 90 ล้านบาท ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 


สำหรับตัวทุ่นจอดเรือ เป็นปัญหาที่เกิดจากคลื่นที่ซัดเข้ามาเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ทำให้ทุ่นจอดเรือในวันนี้เกิดปัญหา แต่ว่ายังอยู่ในช่วงประกันของผู้รับจ้าง ซึ่งทางผู้รับจ้างก็ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ ฉะนั้น กรมเจ้าท่าจึงตั้งงบในส่วนนี้เพื่อสร้างตัวแผงกันคลื่น อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่นี้ เรามีเป้าหมายตั้งแต่แรกอยู่แล้ว คือไม่ต้องการทำมารีน่าแข่งขันกับเอกชน แต่เราต้องการทำในเชิงตรวจสอบ ติดตาม ควบคุมด้านความมั่นคง และมีทหารเรือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทั้งหมด” 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น