จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

“ซิป้า” กระตุ้นผู้ประกอบการเตรียมแข่งขัน AEC



เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 ที่ห้องประชุมโรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์กับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ซึ่งสำนักงานซิป้า จัดขึ้น 



เพื่อกระตุ้นผู้ประกอบการให้มีความตื่นตัว เข้าใจถึงการปกป้องสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก่อนที่จะเสียเปรียบการแข่งขันทางการค้า หลังเข้าสู่ AEC โดยมีนายจำเริญ แซ่ตัน เลขานุการหอการค้าจังหวัดภูเก็ต นายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสำนักงาน ซิป้า สาขาภูเก็ต ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ นักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วม 


นายไตรรัตน์ กล่าวว่า การจัดอบรมดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้ ธีม We must be protection เพื่อสื่อให้เห็นถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งซิป้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ในการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของซอฟต์แวร์ไทย เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงาน ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ 


ในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์ไทย เพื่อปกป้องซอฟต์แวร์ของตนเองจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือบริการซอฟต์แวร์ มีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการจดแจ้งลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ รวมถึงผลกระทบของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรม 


“ที่ผ่านมาปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์มีค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบันพบว่าปัญหาดังกล่าวเริ่มลดลง เนื่องจากผู้ใช้มีความเข้าใจว่าการใช้ซอฟต์แวร์ไม่สามารถที่จะละเมิดได้ อันเป็นผลมาจากหน่วยงานต่างๆ ได้มีการรณรงค์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีซอฟต์แวร์ทางเลือกที่ให้บริการในราคาที่ถูกลง” 


นายไตรรัตน์ กล่าวด้วยว่า สำหรับตลาดไอทีค่อนข้างกว้างมากทั้งเรื่องของเน็ตเวิร์คและฮาร์ดแวร์ต่างๆ มีมูลค่ารวมนับแสนล้านบาท โดยเฉพาะเรื่องของซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเท็น มีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตในอนาคตน่าจะอยู่ที่ประมาณปีละ 12 – 15% โดยหน้าที่ของซิป้า คือ จะต้องทำให้การเจริญเติบโตดังกล่าวเป็นการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะเป็นสิ่งสำคัญมาก แม้ว่าเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นอาจจะมีมูลค่าไม่มาก แต่การส่งผลต่อเศรษฐกิจที่มาจากการใช้ซอฟต์แวร์ค่อนข้างมากมูลค่านับแสนล้านบาท 


อย่างไรก็ตามนายไตรรัตน์ ได้กล่าวถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของซิป้า ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมฯ นี้ในหลายมิติทั้งการพัฒนาบุคลกร การส่งเสริมผู้ประกอบการ การสร้างความแข็งแรงให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะพบว่าซอฟต์แวร์ไทยเราไม่ได้น้อยหน้าซอฟต์แวร์ของประเทศอื่นๆ และเมื่อมีการประกวดก็จะไดรับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในประเทศคู่แข่งที่น่ากลัว ส่วนการเตรียมพร้อมเข้าสู่เออีซี และเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล 


รวมทั้งยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน แต่ในการมองจะต้องไม่มองเรื่องการแข่งขันเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองในเรื่องของความร่วมมือด้วย เพื่อให้เกิดความแข็งแรงในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย ซึ่งได้มีการร่วมมือกับทุกประเทศของอาเซียนและสร้างความแข่งแกร่งให้เกิดขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น