จำหน่ายอุปกรณ์แต่งรถ

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาพื้นที่ IMT-GT รับมือเปิดเออีซี



เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2556 ที่ห้องจามจุรี 1 โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไพโรจน์ โพธิวงศ์ ที่ปรึกษาด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานเปิดการประชุมระดมสมอง เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาพื้นที่ตามแผนงาน IMT-GT และการขับเคลื่อนโครงการตาม IMT-GT Implementation Blueprint ปี 2555-2559 ครั้งที่ 1 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 


ซึ่งกระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับจังหวัดภูเก็ต เป็นเจ้าภาพจัดขึ้น โดยมีนายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรังและระนอง ตลอดจนผู้แทนจากสภาธุรกิจภาคใต้ เข้าร่วม 


สำหรับการประชุมดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการมอบนโยบายของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2556 ได้มอบหมายให้ 14 จังหวัดภาคใต้เร่งรัดการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ IMT-GT ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อมุ่งใช้โอกาสจากการพัฒนาด้านต่างๆ ภายใต้แผนงานความร่วมมือ IMT-GT เพื่อเกื้อกูลการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ของไทยอย่างเต็มกำลัง 


นายไพโรจน์ กล่าวว่า แผนงาน IMT-GT เป็นกรอบยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการบูรณาการศักยภาพของพื้นที่ การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเชิงเศรษฐกิจและโอกาสทางธุรกิจในอนุภูมิภาคของสามประเทศ ได้แก่ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย 8 รัฐตอนเหนือและตะวันตกของมาเลเซีย และ 10 จังหวัดในเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง เพื่อให้เป็นพื้นที่การพัฒนาที่ต่อเนื่อง ก้าวหน้า มั่งคง และมีสันติภาพ โดยประชาชนได้มีการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยผู้นำสามประเทศได้เน้นย้ำบทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดและมุขมนตรีของพื้นที่ IMT-GT ในการเป็นผู้สนับสนุนหลักของการนำเสนอโครงการที่มีศักยภาพจากระดับพื้นที่สู่การพิจารณาระดับนโยบาย 


การประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของอนุภาค IMT-GT ต่อการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน โดยภายใต้การดำเนินการจัดทำทั้งยุทธศาสตร์ประเทศไทยในอนาคตที่มีแนวคิดในการกำหนดบริบทใหม่ของประเทศใน 20 ปีข้างหน้า โดยพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดและทิศทางสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคการผลิตที่มีบทบาทสูงต่อระบบเศรษฐกิจ 


ภาคการเกษตรซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และภาคบริการซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ของประเทศ พร้อมทั้งได้พิจารณาถึงสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และโอกาสการเข้าถึงทรัพยากร กอปรกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนซึ่งกระทบต่อรูปแบบการบริโภค จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ ประเทศ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้หลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง, การลดความเหลื่อมล้ำ, การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการสร้างสมดุลและปรับระบบบริหารจัดการภายในของรัฐ นายไพโรจน์ กล่าว 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น